Welcome

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฮอรโมนจากตับอ่อน

ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอะไรบ้าง

1.อินซูลิน (insulin) มีผลต่อเซลล์เกือบทุกชนิดในร่างกาย โดยมีอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญคือ ตับ กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ไขมัน อินซูลินได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความอุดมสมบูรณ์ (hormone of abundance) เป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้มีการสะสมกลูโคส กรดไขมันและกรดอะมิโนไว้ภายในเซลล์ต่างๆ และสำรองไว้ใช้ระหว่างช่วงมื้ออาหารและเมื่อร่างกายขาดแคลน ทำให้ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มีค่าปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้แก่

•ระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงขึ้นจากค่าปกติ ( 80 – 100 มิลลิกรัม / 100 มิลลิลิตร หรือ มิลลิกรัมเปอร์เซนต์) •ฮอร์โมนบางตัวจากระบบทางเดินอาหาร เช่นซีครีติน แกสตริน โคลีซิสโตไคนิน (cholecystokinin)

•กรดอะมิโนบางตัว เช่นอาร์จีนีน ไลซีน ฮอร์โมนนี้มากเกินไป (insulin excess) การมีฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์ของสมอง อย่างรวดเร็ว ทำให้มีอาการสับสน มึนงง อ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังไปกระตุ้นการทำงานของประสาทซิมพาเทติก ทำให้มีอาการหิว ใจสั่น เหงื่อออกมาก และเพิ่มการหลั่งแคททีโคลามีนจากต่อมหมวกไต ให้ตับมีการสลายไกลโคเจน เป็นกลูโคสมากขึ้น ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขโดยการให้กลูโคสทดแทนอาการจะรุนแรงคือชัก หมดสติ และเสียชีวิต

ขาดฮอร์โมนอินซูลิน (insulin insufficiency)

        การขาดฮอร์โมนอินซูลินทำให้กลูโคสเข้าเซลล์เนื้อเยื่อไม่ได้ ทำให้ร่างกายเสมือนขาด อาหาร (starvation) ตับจึงสลายไกลโคเจนมายังหลอดเลือดทำให้ระดับน้ำตาลยิ่งสูงมากขึ้น (hyperglycemia)

2.กลูคากอน (glucagon) ฮอร์โมน กลูคากอนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการทำลายสารชีวโมเลกุล(catabolic hormone) สลายกลูโคส กรดไขมันและโปรตีนทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มีผลการทำงานตรงกันข้ามกับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ถ้าน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำลง ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น กลูคากอนเป็นตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนของเนื้อเยื่อออกมาเป็นกลูโคส กรดไขมันและ กรดอะมิโนให้เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ระดับของฮอร์โมนอินซูลิน กลูคากอน ภายหลังที่รับประทานอาหาร

การควบคุมการหลั่งกลูคากอน

        การหลั่งกลูคากอนถูกควบคุมโดยตรงด้วยระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติ จะกระตุ้นแอลฟา เซลล์ให้หลั่งกลูคากอนจนระดับน้ำตาลสูงเท่าปกติ การกระตุ้นแอลฟาเซลล์จึงหยุดลง กลูคากอนจะหลั่งเพิ่มขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกที่มายังไอเลตส์ ออฟแลงเกอร์ฮานส์ ความเครียดจะกระตุ้นการหลั่งกลูคากอนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การหลั่งกลูคากอนถูกยับยั้งโดยโซมาโทสแททิน อินซูลินกดการหลั่งกลูคากอน จึงมักพบกลูคากอนเพิ่มสูงในผู้ป่วยที่ขาดอินซูลิน ทำให้อาการของเบาหวานรุนแรงมากขึ้น

ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน

         ถ้าระบบควบคุมการหลั่งกลูคากอนผิดปกติไป เซลล์แอลฟาจะหลั่งกลูคากอนตลอดเวลา การมีฮอร์โมนมากกว่าปกติ จะเร่งการสลายกลูโคสภายในตับ เร่งให้ตับปล่อยกลูโคส ออกสู่เลือดมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ไม่พบโรคที่เกิดจากการขาดกลูคากอน แต่การหลั่งกลูคากอนลดลง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำได้

3.โซมาโทสแทติน (somatostatin ) ฮอร์โมนโซมาโทสแททิน เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่สร้างจากเดลตาเซลล์ของตับอ่อน ยังพบในไฮโพทาลามัสที่สมอง เเละทางเดินอาหาร

           หน้าที่ ยับยั้งการหลั่งอินซูลิน กลูคากอนและโกรทฮอร์โมน ลดการดูดซึมสารอาหารที่กระเพาะและลำไส้ ยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งกรดและฮอร์โมนแกสตรินจากกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน

4.เพนคริเอติก พอลิเปปไทด์ หรือ พีพี (pancreatic polypeptide: PP) เป็นโปรตีนที่จำเพาะที่สร้างจากเอฟ เซลล์ ของตับอ่อนจะ หลั่งออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น จากการย่อยอาหารที่กระเพาะและลำไส้ โดยผ่านขบวนการ การกระตุ้นของระบบประสาท แบบโคลลิเนอจิก(cholinergic) และจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ยับยั้งการหลั่งเมื่อมี การให้น้ำตาลกลูโคส

           หน้าที่ที่ทราบอย่างชัดเจนคือ ยับยั้งการหลั่งของต่อมมีท่อ ของตับอ่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากยับยั้งการดูดซึม การสร้างสารตั้งต้น(precursor) ของกรดอะมิโน ที่ลำไส้เล็กของต่อมมีท่อของตับอ่อน หน้าที่ที่สำคัญของพีพียังไม่ทราบแน่ชัด แต่ถ้ามีพีพีในกระแสเลือดสูงขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ ถึงการมีเนื้องอกของเซลล์ไอเลตส์และตอบสนองต่อการรักษา แต่ถ้าระดับพีพีในพลาสมาไม่สูงขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสลดลงอย่างมาก อาจหมายถึงว่าเซลล์ไอเลตส์ในตับอ่อนไม่มีเส้นประสาทโคลลิเนอจิกมาเลี้ยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you

Comments System

Disqus Shortname