Welcome

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง vasopressin

หน้าที่ของฮอร์โมนวาโซเเปปซิน


1. ทำให้สารน้ำในร่างกายปกติเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเหงื่อ อุจจาระร่วง (diarrhea) ฮอร์โมน ADH จะทำให้ร่างกายขับปัสสาวะน้อยลง หรือเมื่อไฮโพทาลามัสรู้สึกว่าร่างกายมีความเข้มข้นของเกลือ (saltiness) มากเกินไป ร่างกายจะหลั่ง ADH มากขึ้น
2. การเข้มข้นของสารเหลวในร่างกายปกติความเข้มข้นของสารในกระแสเลือดประเภทที่ เรียกว่าออสโมลาริติ (osmolarity) เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารโดยรวม รวมทั้งประจุโดยรวม จะส่งสัญญาณผ่านกระแสประสาทไปที่ไฮโพทาลามัส (ซึ่งรู้จักในชื่อ ออสโมรีเซฟเตอร์ (osmoreceptor)) กระตุ้นให้กระแสประสาทให้หลั่ง ADH ดังภาพ 

ความผิดปกติของฮอร์โมน


ผู้ป่วยเบาจืดจะรู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมากและปัสสาวะบ่อย 


โรคที่พบบ่อยได้แก่ ไดอะปิทิส อินซิปิดัส (diabetes insipidus) ซึ่งเกิดจาก 2ประการดังนี้ 
1. ไฮโพทาลามิก ไดอะบิทิส อินซิปิดัส (hypothalamic diabetes insipidus) คือมีการหลั่งADH จากต่อมไฮโพทาลามัสได้น้อย ซึ่งอาจเกิดจากได้รับอุบัติเหตุที่สมอง หรือการติดเชื้อ 
2. เนฟโฟจินิก ไดอะบิทิส อินซิปิดัส (nephrogenic diabetes insipidus) เกิดจากไตไม่สามารถตอบสนองต่อADH มักเกิดจากโรคที่เกิดที่ไต   ภาวะกลายพันธุ์ (mutation) หรือการผ่าเหล่าของยีนของ ADHทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมน ADH ที่ผิดปกติ ซึ่งอาการแสดงที่ปรากฏ คือมีการหลั่งปัสสาวะออกมาอย่างมาก เช่นการหลั่งปัสสาวะได้16 ลิตร/ วัน ทำให้ต้องการน้ำทดแทน อย่างมาก ซึ่งถ้าให้การทดแทนไม่เพียงพอจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you

Comments System

Disqus Shortname