Welcome

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง oxytocin

หน้าที่ของฮอร์โมนออกซิโทซิน


1. กระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกของหญิงมีครรภ์ ในการคลอดบุตร ในระยะใกล้คลอด จะพบว่ามีออกซิโทซิน รีเซฟเตอร์เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้มีการหดรัดตัว ของมดลูกถี่ขึ้นในระยะใกล้คลอด และในระยะคลอด ในขณะคลอดถ้ามีการกระตุ้นการถ่ายขยายของ ปากมดลูกจะทำให้มีการหลั่งของออกซิโทซินเพิ่มมากขึ้น
2. กระตุ้นการหลั่งน้ำนม (milk ejection) ทำให้กล้ามเนื้อของต่อมน้ำนม บีบตัวให้หลั่งน้ำนมออกมา เมื่อน้ำนมถูกสร้างขึ้นจะไปเก็บไว้ในถุงน้ำนม ซึ่งเรียกว่า อะวีโอไล (alveoli) เพื่อ เตรียมไว้ให ้ทารก อะวีโอไลจะล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่เรียกว่า เซลล์ไมโออิปิทีเลียม (myoepithelial cell) ซึ่งเป็นเซลล์เป้าหมาย (target cell) ของออกซิโทซิน ออกซิโทซินจะกระตุ้นให้มีการหดรัดตัว ของกล้ามเนื้อเรียบนี้  ทำให้น้ำนมที่สร้างไว้แล้วไหลเข้าไปสู่ท่อน้ำนมเมื่อทารก
ดูด นม จะส่งกระแสประสาทผ่านไขสันหลัง ไปยังเซลล์ประสาท ที่สร้างฮอร์โมน ในไฮโพทาลามัสทำให้มีการสร้างออกซิโทซิน และมาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง และแพร่เข้าไปในกระแสเลือด ไปทำงานโดยกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบที่ต่อมน้ำนม ให้บีบตัวให้น้ำนมที่สร้างไว้แล้วให้ไหลออกมาตามท่อน้ำนมไปที่หัวนมแล้วเข้า ปากทารก


การควบคุมการทำงานของฮอร์โมนออกซิโทซิน


การกระตุ้นที่หัวนม หรือการดูดนมมารดาของทารกเป็นสิ่งเร้าที่จะกระตุ้นสัญญาณประสาทผ่าน ไปในไขสันหลัง ไปที่สมองไปกระตุ้นไฮโพทาลามัสให้มีการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิโทซิน และหลั่งที่ปลายประสาทในต่อมใต้สมองส่วนหลังเข้ากระแสเลือด ไปมีผลที่เต้านม นอกจากการดูดนมของทารกแล้ว เสียงและภาพของทารกหรือการนึกถึงทารกก็สามารถกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออก ซิโทซินได้ ในขณะที่เสียงและภาพของทารกไม่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโพรแลกทินปัจจัยที่กระตุ้นการหลั่งออกซิโทซินประการหนึ่งคือ การถ่างขยายของปากมดลูกในระยะเข้าสู่ ขบวนการคลอดบุตร ซึ่งจะกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวได้ดีขึ้นทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด 


ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน


ในการคลอดถ้าฮอร์โมนออกซิโทซินที่หลั่งตามธรรมชาติไม่เพียงพอ จะทำให้การคลอดล่าช้า แพทย์จะให้ออกซิโทซินสังเคราะห์เพื่อกระตุ้นให้ปากมดลูกถ่างขยายได้ดีขึ้น เมื่อให้แก่ผู้คลอดแล้ว ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นอาจทำให้มดลูกแตก หรือทารกขาดออกซิเจนในครรภ์มารดาจากการที่มดลูกได้รับการกระตุ้น ให้มีการหดรัดตัวมากเกินไป อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์มารดาได้ หรือในกรณีหลังคลอด ถ้ามีฮอร์โมนไม่เพียงพอ อาจทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีพอที่จะไปบีบเส้นเลือด บริเวณที่รกลอกตัวให้เลือดไหลน้อยลง จะทำให้ผู้คลอดเสียเลือดมากจนถึงแก่ชีวิตได้  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you

Comments System

Disqus Shortname