Welcome

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมองอยู่ตรงส่วนล่างของสมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
โกรทฮอร์โมน (GROWTH HORMONE)
โปรแลกติน (PROLACTIN)
Gonadotrophin
TSH
ACTH

2.ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง
MSH

3.ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง
OXYTOCIN
VASOPRESSIN

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ACTH

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ACTH
Andrenocorticotrophin หรือ Adrenocorticotrophic hormone (ACTH) 

ทำหน้าที่   

กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างฮอร์โมนตามปกติ กระตุ้น การหลั่ง insulin กระตุ้น การหลั่ง GH ควบคุมการทำงานของต่อมเหนือไตชั้นนอก ( adrenal cortex ) ทำให้สีของสัตว์เลือดเย็นเข้มขึ้น มีโครงสร้างเหมือน MSH 

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า TSH

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า TSH
Thyroid Stimulation hormone (TSH)

ทำหน้าที่ กระตุ้น ให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ thyroxine hormone การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจาก สมองส่วน hypothalamus มีฮอร์โมนที่กระตุ้นและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและมี ชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน เช่น

1. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง GH ( GH releasing hormone, GRH) กระการหลั่งฮอร์โมน growth
2. ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง GH (GH inhibiting hormone,GIH) ยับยั้งไม่ให้มีการหลั่งฮอร์โมน growth
3. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง prolactic (Prolactin releasing hormone,PRH) กระตุ้นให้ Prolactin หลั่งออกมา
4. ฮอร์โมนควบคุมการหลั่ง thyroid (Thyroid releasing hormone,TRH) กระตุ้นการหลั่ง TSH
5. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gn (Gonadotrophin releasing hormone,GnRH) กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH และ FSH

ฮอร์โมนเหล่านี้รวมเรียกว่า ฮอร์โมนประสาท เพราะสร้างมาจากเซลล์พิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาทภายใน hyprothalamus

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โกรนาโดโทฟิน

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โกรนาโดโทฟิน

ประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ FSH และ LH

ฮอร์โมน FSH ทำหน้าที่

สำหรับในเพศหญิง กระตุ้นรังไข่ให้สร้างไข่และไข่สุกกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน           สำหรับในเพศชาย กระตุ้นอัณฑะ ให้สร้างตัวอสุจิ กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนดทสโตสเทอโรน

ฮอร์โมน LH ทำหน้าที่  

               สำหรับในเพศหญิง กระตุ้นให้ไข่ตกกระตุ้นการสร้างเเละหลั่งโปรเจสเตอโรน สร้างผนังมดลูกเเละการเจริญต่อมน้ำนม                                                 
               สำหรับในเพศชาย กระตุ้นเซลล์อินเตอร์สติเชียลให้หลั่งเทสโตสเทอโรนเเละกระตุ้นให้อสุจิเติบ โตเต็มที่

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โปรแลกติน

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โปรแลกติน

ทำหน้าที่ 

1. กระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมในหญิงที่มีลูกอ่อน
2. กระตุ้นการสังเคราะห์น้ำนม (lactogenesis) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของทารก              
3. กระตุ้นให้ต่อมน้ำนมหลั่งน้ำนมออกมา   ซึ่งจะหลั่งออกมาวันที่ 3-4 หลังคลอด
มีความสำคัญในระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญในช่วงการตั้งครรภ์ของสัตว์บางชนิดเช่น สุนัข โรเด็นท์ (rodent) และเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในสัญชาติญาณของการเป็นมารดาในสัตว์บางชนิด(maternal behavior) เช่น การทำรัง เป็นต้น
นอกจากนี้โพรแลกทินมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน( immune function) โดยจากการศึกษาพบว่าหนูที่ทดลองเอายีนโพรแลกทินออกจะมีความผิดปกติของภูมิ คุ้มกัน ทั้งนี้เนื่องจากพบตัวรับสัญญาณโพรแลกทินในเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ลิมโพไซด์(lymphocytes) บางชนิด


ความผิดปกติของฮอร์โมนโปรแลกติน 


การมีภาวะโพรแลกตินในกระแสโลหิตสูงหรือเรียกว่าไฮเปอร์โพรแลคตินอีเมีย(hyperprolactinemia) ที่พบบ่อยคือการมีฮอร์โมนเพิ่มมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากการมีเนื้องงอกที่ต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกมามากทำให้ระงับการตกไข่จึงไม่มีบุตร(infertile) ไม่ มีรอบระดูหรืออะเมนนอรีเรีย (amenorrhea ) มีน้ำนมไหลหรือกาเลคโตเรีย (galactorrhea) ถ้าพบในผู้ชายจะทำให้ความรู้สึกทางเพศตรงข้ามลดลง และหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (impotence) เป็นหมัน เต้านมขยายเหมือนผู้หญิง (gynaecomastia)

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โกรทฮอร์โมน

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โกรทฮอร์โมน

หน้าที่

1.กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูก และมีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูก
2.เพิ่มอัตราการสร้างโปรตีน
3.เพิ่มการสลายไขมัน
4.เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด


ความผิดปกติของโกรทฮอร์โมน


hypofunction (ฮอร์โมนน้อย)


เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีหน้าตาที่ดูอ่อนกว่าอายุจริง รูปร่างเตี้ยเล็กแต่สมส่วน อ้วนกลมเนื่องจาก มีไขมันสะสมบริเวณลำตัวมาก น้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเป็นเด็กชายมักมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย การขาดโกรทฮอร์โมน ไม่มีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของเด็ก (แต่มักมีปัญหาด้านจิตใจ) เรียกภาวะนี้ว่า การเตี้ยแคระหรือ dwarfism
ผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด(stess) สูงเรียกว่า Simmon’s disease


hyperfunction (ฮอร์โมนมาก)


เด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism

ผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง vasopressin

หน้าที่ของฮอร์โมนวาโซเเปปซิน


1. ทำให้สารน้ำในร่างกายปกติเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเหงื่อ อุจจาระร่วง (diarrhea) ฮอร์โมน ADH จะทำให้ร่างกายขับปัสสาวะน้อยลง หรือเมื่อไฮโพทาลามัสรู้สึกว่าร่างกายมีความเข้มข้นของเกลือ (saltiness) มากเกินไป ร่างกายจะหลั่ง ADH มากขึ้น
2. การเข้มข้นของสารเหลวในร่างกายปกติความเข้มข้นของสารในกระแสเลือดประเภทที่ เรียกว่าออสโมลาริติ (osmolarity) เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารโดยรวม รวมทั้งประจุโดยรวม จะส่งสัญญาณผ่านกระแสประสาทไปที่ไฮโพทาลามัส (ซึ่งรู้จักในชื่อ ออสโมรีเซฟเตอร์ (osmoreceptor)) กระตุ้นให้กระแสประสาทให้หลั่ง ADH ดังภาพ 

ความผิดปกติของฮอร์โมน


ผู้ป่วยเบาจืดจะรู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมากและปัสสาวะบ่อย 


โรคที่พบบ่อยได้แก่ ไดอะปิทิส อินซิปิดัส (diabetes insipidus) ซึ่งเกิดจาก 2ประการดังนี้ 
1. ไฮโพทาลามิก ไดอะบิทิส อินซิปิดัส (hypothalamic diabetes insipidus) คือมีการหลั่งADH จากต่อมไฮโพทาลามัสได้น้อย ซึ่งอาจเกิดจากได้รับอุบัติเหตุที่สมอง หรือการติดเชื้อ 
2. เนฟโฟจินิก ไดอะบิทิส อินซิปิดัส (nephrogenic diabetes insipidus) เกิดจากไตไม่สามารถตอบสนองต่อADH มักเกิดจากโรคที่เกิดที่ไต   ภาวะกลายพันธุ์ (mutation) หรือการผ่าเหล่าของยีนของ ADHทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมน ADH ที่ผิดปกติ ซึ่งอาการแสดงที่ปรากฏ คือมีการหลั่งปัสสาวะออกมาอย่างมาก เช่นการหลั่งปัสสาวะได้16 ลิตร/ วัน ทำให้ต้องการน้ำทดแทน อย่างมาก ซึ่งถ้าให้การทดแทนไม่เพียงพอจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ 

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง oxytocin

หน้าที่ของฮอร์โมนออกซิโทซิน


1. กระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกของหญิงมีครรภ์ ในการคลอดบุตร ในระยะใกล้คลอด จะพบว่ามีออกซิโทซิน รีเซฟเตอร์เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้มีการหดรัดตัว ของมดลูกถี่ขึ้นในระยะใกล้คลอด และในระยะคลอด ในขณะคลอดถ้ามีการกระตุ้นการถ่ายขยายของ ปากมดลูกจะทำให้มีการหลั่งของออกซิโทซินเพิ่มมากขึ้น
2. กระตุ้นการหลั่งน้ำนม (milk ejection) ทำให้กล้ามเนื้อของต่อมน้ำนม บีบตัวให้หลั่งน้ำนมออกมา เมื่อน้ำนมถูกสร้างขึ้นจะไปเก็บไว้ในถุงน้ำนม ซึ่งเรียกว่า อะวีโอไล (alveoli) เพื่อ เตรียมไว้ให ้ทารก อะวีโอไลจะล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่เรียกว่า เซลล์ไมโออิปิทีเลียม (myoepithelial cell) ซึ่งเป็นเซลล์เป้าหมาย (target cell) ของออกซิโทซิน ออกซิโทซินจะกระตุ้นให้มีการหดรัดตัว ของกล้ามเนื้อเรียบนี้  ทำให้น้ำนมที่สร้างไว้แล้วไหลเข้าไปสู่ท่อน้ำนมเมื่อทารก
ดูด นม จะส่งกระแสประสาทผ่านไขสันหลัง ไปยังเซลล์ประสาท ที่สร้างฮอร์โมน ในไฮโพทาลามัสทำให้มีการสร้างออกซิโทซิน และมาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง และแพร่เข้าไปในกระแสเลือด ไปทำงานโดยกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบที่ต่อมน้ำนม ให้บีบตัวให้น้ำนมที่สร้างไว้แล้วให้ไหลออกมาตามท่อน้ำนมไปที่หัวนมแล้วเข้า ปากทารก


การควบคุมการทำงานของฮอร์โมนออกซิโทซิน


การกระตุ้นที่หัวนม หรือการดูดนมมารดาของทารกเป็นสิ่งเร้าที่จะกระตุ้นสัญญาณประสาทผ่าน ไปในไขสันหลัง ไปที่สมองไปกระตุ้นไฮโพทาลามัสให้มีการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิโทซิน และหลั่งที่ปลายประสาทในต่อมใต้สมองส่วนหลังเข้ากระแสเลือด ไปมีผลที่เต้านม นอกจากการดูดนมของทารกแล้ว เสียงและภาพของทารกหรือการนึกถึงทารกก็สามารถกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออก ซิโทซินได้ ในขณะที่เสียงและภาพของทารกไม่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโพรแลกทินปัจจัยที่กระตุ้นการหลั่งออกซิโทซินประการหนึ่งคือ การถ่างขยายของปากมดลูกในระยะเข้าสู่ ขบวนการคลอดบุตร ซึ่งจะกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวได้ดีขึ้นทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด 


ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน


ในการคลอดถ้าฮอร์โมนออกซิโทซินที่หลั่งตามธรรมชาติไม่เพียงพอ จะทำให้การคลอดล่าช้า แพทย์จะให้ออกซิโทซินสังเคราะห์เพื่อกระตุ้นให้ปากมดลูกถ่างขยายได้ดีขึ้น เมื่อให้แก่ผู้คลอดแล้ว ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นอาจทำให้มดลูกแตก หรือทารกขาดออกซิเจนในครรภ์มารดาจากการที่มดลูกได้รับการกระตุ้น ให้มีการหดรัดตัวมากเกินไป อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์มารดาได้ หรือในกรณีหลังคลอด ถ้ามีฮอร์โมนไม่เพียงพอ อาจทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีพอที่จะไปบีบเส้นเลือด บริเวณที่รกลอกตัวให้เลือดไหลน้อยลง จะทำให้ผู้คลอดเสียเลือดมากจนถึงแก่ชีวิตได้  

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง

ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง

ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง คือ เมลาโนไซท์ สติมูเลติง ฮอร์โมน (melanocyte stimulating hormone เรียกย่อว่าMSH) สร้างจากเซลล์เมลาโนไซท์ (melanotropic cell) ในพาร์สอินเตอร์มีเดียของต่อมใต้สมอง เป็นพอลิเปปไทด์ฮอร์โมนประกอบด้วยกรดอะมิโน35 - 41 หน่วย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีเมลานิน (melanin pigment ) ที่ผิวหนัง โดยกระตุ้นการกระจาย ของเมลานิน (melanin) ในเมลาโนไซท์ (melanocyte ) ถ้าขาด MSH ผิวหนังจะซีดขาว ถ้า MSH มากเกินไปผิวหนังจะเข้มดำ

มีบางรายงานได้กล่าวถึงบทบาทของ MSH ว่ากดความรู้สึกเจริญอาหารในสมอง โดยพบว่าผู้ที่อ้วนมากๆ จะมีการผ่าเหล่าหรือมีสารพันธุกรรมที่สร้าง MSH เปลี่ยนไป ส่วนหน้าที่อื่นๆยังไม่ทราบแน่ชัดและเนื่องจากในมนุษย์ต่อมใต้สมองส่วนนี้ฝ่อไปแล้ว ดังนั้น MSH ที่ตรวจได้จึงเป็นเปปไทด์ที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่ได้จากการสลาย ACTH

Melanocyte Stimulating hormone 
ทำหน้าที่

การควบคุมสีผิว (control of skin coloration)
ปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เปลี่ยนสีผิวเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย พรางตา และแสดงการดึงดูดเพศตรงข้าม ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่หรือขับเม็ดสีดำ หรือน้ำตาล เล็กๆออก หรือเข้าไปในเซลล์ที่เรียกว่า เมลาโนฟอร์ (melanophore) สารเม็ดเล็กๆนี้เรียกว่าสารมีสีดำหรือเมลานิน (melanin) สร้างจากโดปา (dopa) และโดปาควินโนน (dopaquinone) การเคลื่อนที่ของสารมีสีเล็กๆนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน และสารสื่อประสาทหลายชนิดได้แก่ α-MSH, β - MSH, เมลาโทนิน และแคททีโคลามีน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่มีเมลาโนฟอร์ (melanophore) ที่จะมารวมกัน หรือกระจายออกไปได้เหมือนสัตว์เหล่านี้ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีเซลล์ เมลาโนไซท์ (melanocyte) ซึ่งสร้างเมลานินได้ พบว่าการให้ MSH ในผู้ป่วยจะกระตุ้นการสร้างเมลานิน ซึ่งทำให้ผิวเข้มขึ้นได้ใน 24 ช.ม. แม้ว่า α- MSH และ β - MSH จะใช้ไม่ได้ในมนุษย์ แต่เมลาโนไซท์ จะมีเมลาโนโทรบินซึ่ง ACTH จะสามารถจับกับตัวรับนี้และกระตุ้นให้ผิวเข้มขึ้นได้

การมีสีผิวเข้มขึ้นในมนุษย์

การเปลี่ยนสีผิวที่เกิดจากโรคทางต่อมไร้ท่อในมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากการไหลเวียนของ ACTH ถ้าผิวซีดมักเกิดจากการทำงานของไฮโพทาลามัสน้อย ถ้าผิวเข้มมักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคของต่อมหมวกไตทำงานน้อยการสร้างเม็ดสีเมลานิน
(melanin pigment) ที่ผิวหนัง โดยกระตุ้นการกระจายของเมลานิน (melanin) ในเมลาโนไซท์ (melanocyte) ถ้าขาด MSH ผิวหนังจะซีดขาว ถ้า MSH มากเกินไปผิวหนังจะเข้มดำ

นอกจากนี้พบว่าผิวหนังเป็นแหล่งผลิต ACTH และ MSH จากโมเลกุลของ POMC ที่สำคัญฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อรากขน (hair follicles) ต่อมน้ำมัน 
(sebaceous glands) และระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง 

ฮอร์โมนจากต่อมเพศ

อวัยวะที่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้มี 3 ส่วน คือ
- รังไข่ (ovary)
- อัณฑะ (testes)
- รก (placenta)

ฮอร์โมนจากต่อมเพศ รกเเละฮอร์โมนจากรก

รกเเละฮอร์โมนจากรก

รกจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน มาควบคุมการตั้งครรภ์ให้ดำเนินต่อไป เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่โดยการพัดโบกของขนเซลล์ (cilia) ของท่อนำไข่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฮอร์โมนอีสโทรเจน เมื่อมีการผสมระหว่างอสุจิและไข่ เกิดการปฏิสนธิขึ้น (fertilization) จนเคลื่อนที่มาถึงมดลูกซึ่งเป็นระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) มีจำนวนเซลล์ประมาณ100 เซลล์ แล้วจะฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ แล้วเซลล์โทรโฟบลาสท์ (trophoblast) ของบลาสโตซิสจะยึดกับเนื้อเยื่อของมดลูก เจริญไปเป็นรก (placenta) ดังนั้นรกจึงเป็นส่วนหนึ่งของทารก แต่จะอยู่นอกตัวทารกในมดลูกของมารดาหน้าที่รกเป็นบริเวณที่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและทารกมาพบกัน โดยเชื่อมต่อสายสะดือของทารกกับมดลูก ของมารดา

รกทำหน้าที่ 2 ประการคือ

- ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอาหาร อากาศและของเสียจากทารกในครรภ์ของทารกในครรภ์
- ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูก ซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็น ระหว่างตั้งครรภ์และเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกลไกลการเจ็บครรภ์รวมทั้ง ฮอร์โมนอีสโทรเจน และฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่

1. ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน

2. ฮอร์โมนอีสโทรเจน      

3. ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน

ฮอร์โมนจากต่อมเพศ ฮอร์โมนเพศชาย

อัณฑะที่ทำหน้าที่  เป็นต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศ ชายคือ เซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) หรืออินเตอร์สติเชียลเซลล์ (interstitial cell) อยู่ในเนื้อเยื่อที่แทรกอยู่ระหว่างท่อเซมินิเฟอรัส (seminiferous tubule) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน
และสร้างอีสโทรเจนในจำนวนน้อยด้วย

หน้าที่ของฮอร์โมนเพศชายและการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนเพศชายเมื่อเด็กชายเข้าสู่วัยรุ่นคืออายุ 12 – 13 ปี

   จะมีการเพิ่มระดับ ของโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่งฮอร์โมน (จีเอ็น อาร์เอช : GnRH ) จากไฮโพทาลามัสมากขึ้น การหลั่งจะเป็นแบบจังหวะ มากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้า ให้หลั่ง แอลเอชให้มีการหลั่งเป็นจังหวะเช่นกัน และจีเอ็น อาร์เอช ยังกระตุ้นการทำงานของเอฟ เอส เอช (FSH) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในการสร้าง อสุจิและฮอร์โมนเพศชายด้วย FSH จะควบคุมการสร้างตัวอสุจิ ให้มีการสร้างอสุจิในท่ออสุจิ ฮอร์โมนแอล เอช (LH) จะกระตุ้นให้เซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) สร้างฮอร์โมนที่เรียกว่าแอนโดรเจน (androgen) ส่วนใหญ่ของแอนโดเจนจากเซลล์เลย์ดิกเป็นเทสโทสเทอโรน โดยเอฟ เอส เอช (FSH) จะชักนำให้เกิดตัวรับของแอล เอช (LH) บนเซลล์เลย์ดิก เทสโทสเทอโรน มีผลไปยับยั้งการหลั่ง FSH เช่นกัน

หน้าที่
    กระตุ้นให้เด็กชายเข้าสู่วัยหนุ่ม (male secondary sex characteristics ) ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเต็มที่ องคชาติขยายใหญ่และยาวขึ้น มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ หน้าแข้ง แขน ขา มีลูกกระเดือก ไหล่กว้าง สะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตขึ้น
ทำให้สเปิร์มเจริญเต็มที่ ซึ่งกระบวนการนี้เริ่มตั้งแต่เข้าสู่วัยหนุ่มไปจนตลอดชีวิต เทสโทสเทอโรนมีผลให้กระดูกยาว (long bone) ปิดเร็วขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลทั้งทางด้านจิตใจและร่างกายโดยสรุปดังนี้
1. มีความเป็นตัวของตัวเอง ดูแลตนเองได้ ใช้เวลากับเพื่อนมากขึ้น รับผิดชอบมากขึ้น เริ่มชอบเพื่อนหญิง
2. เหงื่อออกมากขึ้น เหงื่อทำให้ผิวนุ่มและเย็น อาจมีกลิ่นตัว
3. เสียงแหบ ลูกกระเดือกใหญ่ ทำให้อาจมีเสียงแหบในช่วงแรก กล่องเสียงโตขึ้นเห็นเป็นลูกกระเดือกใหญ่ขึ้น
4. กระดูกใหญ่ขึ้น ไหล่ หน้าอกใหญ่ กว้างขึ้น
5. ผิวหนังสร้างไขมันมากขึ้น รูขุมขนใหญ่ขึ้นและบางคนเป็นสิวที่หน้า
6. อวัยวะเพศมีการแข็งตัวตั้งแต่ยังเด็ก แต่ในวัยหนุ่มจะมีการสร้างซีเมน (semen) ดังนั้นถ้ามีอารมณ์ทางเพศมากๆ อาจมีการขับเคลื่อนน้ำกามออกมาได้ระหว่างนอนหลับ เรียกว่าฝันเปียก (wet dream)
7. มีขนที่ใต้วงแขน หัวเหน่า ผมหนาขึ้น

ฮอร์โมนจากต่อมเพศ ฮอร์โมนในเพศหญิง

อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง..........รังไข่ตำแหน่งของรังไข่ในร่างกายผู้หญิง        

รังไข่ตั้งอยู่ที่อุ้งเชิงกราน 2 ข้างของมดลูก ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเป็นต่อมไร้ท่อโดยผลิตฮอร์โมนเพศหญิง คือฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogen ออกเสียงอีกอย่างได้ว่า เอสโทรเจน) และ โพรเจสเทอโรน (progesterone) ซึ่งเป็นสเตรอยด์   ระดับของฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของรอบประจำเดือนฮอร์โมนในเพศหญิง
ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (progesterone ) ตามชื่อที่เรียก pro–gestation ซึ่งหมายถึง สนับสนุนการตั้งครรภ์ คือถ้าไม่มีฮอร์โมนนี้ จะไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น สร้างจากเพรกนิ โนโลน (pregnenolone) ซึ่งสร้างจาก คอเลสเทอรอล นอกจากสามารถ สร้างที่รังไข่ได้แล้ว ยังสามารถสร้างได้จากรก ต่อมอะดรีนัล คอร์เท็กซ์ และในอัณฑะอีกด้วย

ทำหน้าที่

1. ทำให้เยื่อบุมดลูกพร้อมในการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว
2. ส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เพิ่มการสะสมไกลโคเจน
3. ทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
4. ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียว เข้มขึ้น ป้องกันไม่ให้อสุจิตัวอื่นสามารถว่ายมาผสมกับไข่ที่ผสมแล้วได้สะดวก
5. ป้องกันไม่ให้มดลูกหดรัดตัวระหว่างตั้งครรภ์
6. ทำงานร่วมกับอีสโทรเจน โดยอีสโทรเจนจะทำให้มีการเจริญของท่อน้ำนม(duct) หลังจากนั้นอีสโทรเจนจะให้โพรเจสเทอโรนร่วมทำงานทำให้ท่อน้ำนมและถุงน้ำ นม(alveoli)เจริญอย่างสมบูรณ์ เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นตึงตัวขึ้น (glandular development) แต่ระดับของอีสโทรเจนที่สูงในระหว่างตั้งครรภ์จะยับยั้งการทำงานของต่อมใต้ สมองส่วนหน้าไม่ให้หลั่งโพรแลกตินด้วย

ฮอร์โมนในเพศหญิง

ฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogen hormone) เมื่อสตรีเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จะมีการหลั่งของฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน (gonadotropin releasing hormone) หรือที่เรียกว่าจีเอ็น อาร์เอช (GnRH) มากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน ฟอลลิเคิล สติมิวเลติงฮอร์โมน(follicle stimulating hormone)   เรียกย่อว่า  เอฟ เอส เอช (FSH ) และลูทีไนซิงฮอร์โมนหรือแอล เอช(lutieinzing hormone : LH) ไปกระตุ้นการทำงานของรังไข่ให้เจริญเติบโตและสร้างฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogen) และโพรเจสเทอโรน (progesterone) ออกมา

หน้าที่ของฮอร์โมนอีสโทรเจน

1. กระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของเพศหญิง (female secondary sex characteristics)  เมื่อฮอร์โมนเพศจับกับตัวรับสัญญาณของเซลล์ที่ อวัยวะเป้าหมายของสตรีจะทำให้สะโพกผาย อวัยวะเพศและเต้านมใหญ่ขึ้น มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น มีขนที่รักแร้และอวัยวะเพศ เสียงเล็ก ปลายกระดูกอิปิไพเซียล เพลท(epiphyseal plate) ในกระดูกยาว (long bone) ปิดเร็วขึ้น ทำให้ความสูงไม่ เพิ่มขึ้น

2. ต่อต้านการแข็งตัวของเลือด ฮอร์โมนอีสโทรเจนจะเพิ่มระดับคอเลสเทอร อลชนิดดี (high density lipoprotein)) และลดคอเลสเท อรอลชนิดเลว (low density lipoprotein) ทำให้เส้นเลือดหยืดหยุ่น และเกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่มกัน ทำให้ไม่ค่อยเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดแข็งตัวและปัญหาเส้นเลือดที่หัวใจไลโพโปรตีนประกอบด้วยโปรตีน ไขมันชนิดต่างๆ และคอเลสเทอรอล ซึ่งรวมตัวอยู่ด้วยกันด้วยแรงอ่อนๆ จึงมีองค์ประกอบที่เข้ามาจับรวมกันหรือหลุดออกจากกันไปได้ง่าย เช่น ไขมันและคอเลสเทอ-
- รอล คนมักจะกล่าวว่า HDL มีคอเลสเทอรอลชนิดดี ส่วน LDL มีคอเลสเทอรอลชนิดเลว อันที่จริงแล้วคอเลสเทอรอลใน HDL และLDL เป็นตัวเดียวกัน แต่คนเรียกคอเลสเทอรอลดีหรือเลวเป็นเพราะ HDL มีไขมันต่ำและคอเลสเทอรอลต่ำ ส่วน LDL มีไขมันและคอเลสเทอรอลมากกว่า การที่มีคอเลสเทอรอลสูงมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อหลอดเลือด คนจึงมีความคิดต่อคอ เลสเทอรอลที่ไม่ดี แต่คอเลสเทอรอลเป็นสิ่งที่จำเป็นของสิ่งมีชีวิต เพียงแต่ไม่ควรมีสูงเกินไปเท่านั้น     

ความหนาแน่นขึ้นอยู่กับปริมาณของไขมันและคอเลสเทอรอล ถ้าปริมาณไขมันมากความหนาแน่นจะต่ำ(low density)ถ้าปริมาณไขมันน้อยความหนาแน่นจะสูง (high density) คอเลสเทอรอลนับว่าเป็นไขมันประเภทหนึ่ง

3. ผลต่อเมแทบอลิซึมลดการสลายของกระดูก และคงสภาพของผิวหนังและหลอดเลือดการสลายของกระดูกเมื่อขาดฮอร์โมนอีสโทร เจนกระดูกจะสลายเร็วขึ้น หลักฐานแสดงว่า อีสโทรเจน อาจจะเปลี่ยนรูปของวิตามิน ดี ให้กลายเป็นรูปที่ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น สตรีที่อายุมากมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญมากกว่าอายุของสตรี คือระดับฮอร์โมนอีสโทรเจนที่ลดลง ซึ่งไม่ว่าจะเกิดกับสตรีอายุเท่าใดก็ตาม จะทำให้เกิดความเสี่ยง ต่อโรคกระดูกพรุนมากขึ้นเท่านั้นแสดง การสลายตัวของกระดูกในระยะต่างๆ

ฮอรโมนจากตับอ่อน

ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอะไรบ้าง

1.อินซูลิน (insulin) มีผลต่อเซลล์เกือบทุกชนิดในร่างกาย โดยมีอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญคือ ตับ กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ไขมัน อินซูลินได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความอุดมสมบูรณ์ (hormone of abundance) เป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้มีการสะสมกลูโคส กรดไขมันและกรดอะมิโนไว้ภายในเซลล์ต่างๆ และสำรองไว้ใช้ระหว่างช่วงมื้ออาหารและเมื่อร่างกายขาดแคลน ทำให้ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มีค่าปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้แก่

•ระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงขึ้นจากค่าปกติ ( 80 – 100 มิลลิกรัม / 100 มิลลิลิตร หรือ มิลลิกรัมเปอร์เซนต์) •ฮอร์โมนบางตัวจากระบบทางเดินอาหาร เช่นซีครีติน แกสตริน โคลีซิสโตไคนิน (cholecystokinin)

•กรดอะมิโนบางตัว เช่นอาร์จีนีน ไลซีน ฮอร์โมนนี้มากเกินไป (insulin excess) การมีฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์ของสมอง อย่างรวดเร็ว ทำให้มีอาการสับสน มึนงง อ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังไปกระตุ้นการทำงานของประสาทซิมพาเทติก ทำให้มีอาการหิว ใจสั่น เหงื่อออกมาก และเพิ่มการหลั่งแคททีโคลามีนจากต่อมหมวกไต ให้ตับมีการสลายไกลโคเจน เป็นกลูโคสมากขึ้น ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขโดยการให้กลูโคสทดแทนอาการจะรุนแรงคือชัก หมดสติ และเสียชีวิต

ขาดฮอร์โมนอินซูลิน (insulin insufficiency)

        การขาดฮอร์โมนอินซูลินทำให้กลูโคสเข้าเซลล์เนื้อเยื่อไม่ได้ ทำให้ร่างกายเสมือนขาด อาหาร (starvation) ตับจึงสลายไกลโคเจนมายังหลอดเลือดทำให้ระดับน้ำตาลยิ่งสูงมากขึ้น (hyperglycemia)

2.กลูคากอน (glucagon) ฮอร์โมน กลูคากอนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการทำลายสารชีวโมเลกุล(catabolic hormone) สลายกลูโคส กรดไขมันและโปรตีนทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มีผลการทำงานตรงกันข้ามกับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ถ้าน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำลง ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น กลูคากอนเป็นตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ สลายคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนของเนื้อเยื่อออกมาเป็นกลูโคส กรดไขมันและ กรดอะมิโนให้เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ระดับของฮอร์โมนอินซูลิน กลูคากอน ภายหลังที่รับประทานอาหาร

การควบคุมการหลั่งกลูคากอน

        การหลั่งกลูคากอนถูกควบคุมโดยตรงด้วยระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติ จะกระตุ้นแอลฟา เซลล์ให้หลั่งกลูคากอนจนระดับน้ำตาลสูงเท่าปกติ การกระตุ้นแอลฟาเซลล์จึงหยุดลง กลูคากอนจะหลั่งเพิ่มขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกที่มายังไอเลตส์ ออฟแลงเกอร์ฮานส์ ความเครียดจะกระตุ้นการหลั่งกลูคากอนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การหลั่งกลูคากอนถูกยับยั้งโดยโซมาโทสแททิน อินซูลินกดการหลั่งกลูคากอน จึงมักพบกลูคากอนเพิ่มสูงในผู้ป่วยที่ขาดอินซูลิน ทำให้อาการของเบาหวานรุนแรงมากขึ้น

ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน

         ถ้าระบบควบคุมการหลั่งกลูคากอนผิดปกติไป เซลล์แอลฟาจะหลั่งกลูคากอนตลอดเวลา การมีฮอร์โมนมากกว่าปกติ จะเร่งการสลายกลูโคสภายในตับ เร่งให้ตับปล่อยกลูโคส ออกสู่เลือดมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ไม่พบโรคที่เกิดจากการขาดกลูคากอน แต่การหลั่งกลูคากอนลดลง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำได้

3.โซมาโทสแทติน (somatostatin ) ฮอร์โมนโซมาโทสแททิน เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่สร้างจากเดลตาเซลล์ของตับอ่อน ยังพบในไฮโพทาลามัสที่สมอง เเละทางเดินอาหาร

           หน้าที่ ยับยั้งการหลั่งอินซูลิน กลูคากอนและโกรทฮอร์โมน ลดการดูดซึมสารอาหารที่กระเพาะและลำไส้ ยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งกรดและฮอร์โมนแกสตรินจากกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน

4.เพนคริเอติก พอลิเปปไทด์ หรือ พีพี (pancreatic polypeptide: PP) เป็นโปรตีนที่จำเพาะที่สร้างจากเอฟ เซลล์ ของตับอ่อนจะ หลั่งออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น จากการย่อยอาหารที่กระเพาะและลำไส้ โดยผ่านขบวนการ การกระตุ้นของระบบประสาท แบบโคลลิเนอจิก(cholinergic) และจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ยับยั้งการหลั่งเมื่อมี การให้น้ำตาลกลูโคส

           หน้าที่ที่ทราบอย่างชัดเจนคือ ยับยั้งการหลั่งของต่อมมีท่อ ของตับอ่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากยับยั้งการดูดซึม การสร้างสารตั้งต้น(precursor) ของกรดอะมิโน ที่ลำไส้เล็กของต่อมมีท่อของตับอ่อน หน้าที่ที่สำคัญของพีพียังไม่ทราบแน่ชัด แต่ถ้ามีพีพีในกระแสเลือดสูงขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ ถึงการมีเนื้องอกของเซลล์ไอเลตส์และตอบสนองต่อการรักษา แต่ถ้าระดับพีพีในพลาสมาไม่สูงขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสลดลงอย่างมาก อาจหมายถึงว่าเซลล์ไอเลตส์ในตับอ่อนไม่มีเส้นประสาทโคลลิเนอจิกมาเลี้ยง

ฮอร์โมนจากต่อมไทมัส

ต่อมไทมัสผลิตฮอร์โมนไทโมซิน

    ไทโมซินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทมัส ซึ่งมีโครงสร้างเป็นสายพอลิเปปไทด์ ที่มีกรดอะมิโนต่อกันเป็นสาย มีโครงสร้างหลายแบบ เช่น ไทโมซินแอลฟาหนึ่ง และไทโมซินเบตาสี่ เป็นต้น

หน้าที่ของไทโมซิน

       ไทโมซินทำหน้าที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซท์ (lymphocyte หรือ T cell) ที่ยังอ่อนอยู่ (immature lymphocyte) แล้วปรับสภาพไปเป็นลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่ (mature lymphocyte) ลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่แล้วจะออกจากต่อมไทมัสไปอยู่บริเวณม้ามและ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคเนื่องจากการกระทำของเซลล์ (cellular immunity) คือทำหน้าที่เกี่ยวกับปฎิกริยาภูมิแพ้ และการไม่
ยอมรับเนื้อเยื่อแปลกปลอมที่ปลูกถ่ายกับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ต่อมไทมัสจะไวต่อการติดเชื้อ รังสี การเจ็บป่วยมาก พบว่าถ้ามีการติดเชื้อนานๆ เมื่อหายแล้วต่อมไทมัสจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย

ความผิดปกติของต่อมไทมัส

         ถ้าต่อมนี้ติดเชื้อหรือฝ่อตั้งแต่แรกเกิด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนไทโมซินไม่ได้ ทำให้ทารกแรกเกิดติดเชื้อถึงแก่ชีวิตได้

ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์

ฮอร์โมนของต่อมพาราไทรอยด์คือพาราไทรอยด์ฮอร์โมน

หน้าที่ของพาราไทรอยด์ฮอร์โมน

ทำให้ระดับความเข้มข้นของแคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับของฟอสเฟตที่กระดูก ไต และลำไส้เล็ก เพิ่มกระบวนการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก และยับยั้งกระบวนการสร้างกระดูก ในขณะเดียวกันก็เพิ่มการดูดกลับของแคลเซียมที่ไตทำให้ระดับแคลเซียมในกระแส เลือดเพิ่มขึ้น กระตุ้นการขับฟอสเฟตออกไปกับปัสสาวะ พาราทอร์โมนเร่งอัตราการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่ลำไส้เล็กโดยการทำงานร่วม กับวิตามินดีพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มการสลายแคลเซียมจากกระดูกและเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมกลับที่ไต เร่งการขับฟอสเฟตที่ไตทำให้ระดับของแคลเซียม(Ca++) ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น

ความผิดปกติของพาราไทรอยด์

ฮอร์โมนนี้น้อยเกินไป 
จะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ การดูดซึมแคลเซียมกลับที่ไตลดน้อยลง จะทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อไวต่อสิ่งเร้า มีอาการชาตามมือเท้า กล้ามเนื้อหดรัดตัว เกร็ง เป็นตะคริวที่มือและเท้า มีอาการชักกระตุก (tetany) บริเวณหน้า ปอดไม่ทำงาน และเสียชีวิตได้ สามารถทดสอบการขาดแคลเซียมได้ โดยการใช้เครื่องวัดความดัน รัดแขน จนเกินความดัน ซีส เตอ ลิกเพื่อบีบเส้นเลือดให้ตีบ กล้ามเนื้อจะขาดแคลเซียมไปเลี้ยง จะเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือกระตุกงอ (carpal spasm) ภายใน 3 นาที เรียกอาการนี้ว่า อาการของทรูโซ (Trousseau's sign)อาการมือกระตุกงอเนื่องจากการขาดแคลเซียม เรียกว่า อาการของทรูโซ (Trousseau’s sign)

ฮอร์โมนนี้มากเกินไป 
เช่นเนื้องอกของต่อมพาราไทรอยด์ จะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสเฟตต่ำ จะทำให้เกิดนิ่วที่ไต กระดูกเปราะบางได้เนื่องจากมีการสลายของแคลเซียม ที่กระดูกมาก

ฮอร์โมนคืออะไร


ก่อนที่จะศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมน ท่านทราบหรือไม่ว่า

ฮอร์โมนคืออะไร
             ฮอร์โมน (hormone) คือ สารเคมีที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารที่สร้างขึ้น จากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) แล้วส่งไปตามกระแสเลือด ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อกระตุ้น หรือยับยั้งกระบวนการต่างๆ ในเซลล์ หรืออวัยวะเป้าหมาย (target cell หรือ target organ) ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆ ในร่างกายหลายอย่างเช่น ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยให้มนุษย์สามารถสืบพันธุ์ มีลูกหลาน เป็นต้น 

ประวัติการค้นพบฮอร์โมน

            ฮอร์โมน (hormone) มาจากภาษากรีกคือ hormao แปลว่ากระตุ้นหรือทำให้ตื่นเต้น การค้นพบฮอร์โมนเท่าที่มีการบันทึกไว้คือ อาร์โนลด์ เอ. เบอร์โทลด์ (Arnold A. Berthold)

             การทดลองของ ศาสตราจารย์ อาร์โนลด์ เอ. เบอร์โทลด์ (Professor Arnold A. Berthold (1803-1861) ที่เมืองก็อตทิงเก็น ซึ่งได้ทำการทดลองเกี่ยวกับไก่เพศผู้ในปีค.ศ. 1849 ในขณะที่เขาเป็นหัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์อยู่ โดยทำการทดลองดังนี้

การทดลอง
ท่านได้ทำการทดลองเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อของไก่โดยแบ่งลูกไก่ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ลูกไก่ที่เจริญเป็นไก่เพศผู้ปกติ
กลุ่มที่ 2 ลูกไก่เพศผู้ที่ถูกตัดอัณฑะออก
กลุ่มที่ 3 ลูกไก่เพศผู้ที่มีการปลูกอัณฑะให้ใหม่

ผลการทดลอง

จากการสังเกตการเจริญเติบโตของลูกไก่ทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า
กลุ่มที่ 1 มีการเจริญเป็นไก่เพศผู้ตามปกติ คือมีหงอน เหนียง คอยาว ขนหางยาว และมีนิสัยรักการต่อสู้ ปราดเปรียว
กลุ่มที่ 2 มีลักษณะของลูกไก่เพศเมีย คือมีหงอน เหนียงและคอสั้น ขนหางสั้น และมีนิสัยไม่สู้กับไก่อื่น
กลุ่มที่ 3 มีเส้นเลือดมาเลี้ยงบริเวณอัณฑะที่ใส่แทนที่จำนวนมาก และเจริญต่อไปได้ และลูกไก่ มีลักษณะ การเจริญเติบโต เหมือนไก่เพศผู้ตามปกติ

สรุปผลการทดลอง

จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การแสดงลักษณะเพศผู้ของลูกไก่ เกี่ยวข้องกับอัณฑะแน่นอนและไม่ได้ขึ้นกับโครโมโซมเพศผู้อย่างเดียวและผลการ ศึกษาในเวลาต่อมาพบว่าในร่างกายของคน สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง และพืชสามารถผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน ได้นั่นเอง

ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล

ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไพเนียลคือเมลาโทนิน 

หน้าที่ของเมลาโทนิน
1. การพัฒนาระบบอวัยวะสืบพันธุ์   มีบางคนเชื่อว่าเมลาโทนินมีผลต่อการสร้างโกนาโดโทรปิน
รีลิสซิ่งฮอร์โมน (GnRH) แม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปชัดเจนเกี่ยวข้องกับขบวนการหลั่งของเมลาโทนิน แต่มีความเชื่อว่าน่าจะระงับการหลั่ง โกนาโดโทปิน รีลิสซิ่งฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส และควบคุมการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ โดยจะมีการยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศ เช่นในช่วงที่มีฤดูหนาวที่มีกลางคืนยาวนาน ผู้หญิงชาวเอสกิโมจะไม่มีประจำเดือน และถ้ามีฮอร์โมนนี้มากจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้ากว่าที่ควร ในผู้ชายจะมีอัณฑะขนาดเล็กลงได้

2. ส่งเสริมการนอนหลับและกิจกรรมต่างๆ ใช้ในการรักษาผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ (sleep disorder) เช่น ผู้ทำงานเป็นกะ (shift workers ) หรือผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ (elderly insomnia) แก้ไขการหลงเวลาจากการเดินทางโดยเครื่องบิน (jet lag) เมื่อไปในประเทศที่เวลาไม่เหมือนกัน เช่นเมื่อเดินทางจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาที่เวลาห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง จะทำให้เวลากลางวันและกลางคืนกลับกัน ซึ่งจะทำให้นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะได้ ถ้าได้รับฮอร์โมนเมลา
โทนินจะทำให้ปัญหาเหล่านี้หายไปหรือน้อยลง

3. การรักษาโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์ มีงานวิจัยหาความสัมพันธ์ระหว่างเมลาโทนินและภาวะซึมเศร้า พบว่าในประเทศที่มีฤดูหนาวที่ยาวนาน อากาศสลัวๆ ซึ่งเมลาโทนินหลั่งมากขึ้นจะมีผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามากกว่า และเป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมเราจึงรู้สึกสดชื่นในวันที่ท้องฟ้าสดใส มากกว่าในช่วงที่มีอากาศสลัวๆ ของช่วงฤดูหนาว

4. ชะลอการชราภาพ  มีบางรายงานกล่าวถึงเมลาโทนินซึ่งตัวต้านออกซิเดชัน (antioxidation) ซึ่งเป็นสารที่ป้องกันไม่ให้เซลล์ในร่างกายถูกทำลายจากสารที่เป็นอนุมูล อิสระ (free radicals) ซึ่งมักจะไปทำปฏิกิริยาเป็นลูกโซ่และทำลายเซลล์อื่นได้มาก ทำให้เกิดโรคเรื้อรังเช่นมะเร็ง หลอดเลือดหัวใจขาดเลือด ซึ่งถ้ามีอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมมาก จะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ต่อเยื่อบุผิวเซลล์หรืออาจเข้าไปในนิวเคลียส ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัว หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้เกิดการชราภาพของเซลล์ เมลาโทนินจะไปจับหรือกำจัดอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ดีและปกป้องเซลล์จากการ ทำลายของไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์ได้ด้วย ทำให้ชะลอการชราภาพได้และมีรายงานว่าสามารถนำมาใช้ฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ได้ดี

ความผิดปกติของฮอร์โมนเมลาโทนิน
ถ้ามีมากเกินไป
จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตอวัยวะสืบพันธุ์ เนื่องจากพบว่าเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเมลาโทนินจะลดน้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีอาการซึมเศร้าจะมีฮอร์โมนนี้มากกว่าคนปกติ จากการวิจัยพบว่าในประเทศแถบสเกนดิเนเวีย ที่ในฤดูหนาวมีเวลากลางคืนยาวนานมาก จะมีผู้มีอาการซึมเศร้ามาก

Thank you

Comments System

Disqus Shortname