Welcome

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมองอยู่ตรงส่วนล่างของสมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
โกรทฮอร์โมน (GROWTH HORMONE)
โปรแลกติน (PROLACTIN)
Gonadotrophin
TSH
ACTH

2.ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง
MSH

3.ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง
OXYTOCIN
VASOPRESSIN

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ACTH

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ACTH
Andrenocorticotrophin หรือ Adrenocorticotrophic hormone (ACTH) 

ทำหน้าที่   

กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างฮอร์โมนตามปกติ กระตุ้น การหลั่ง insulin กระตุ้น การหลั่ง GH ควบคุมการทำงานของต่อมเหนือไตชั้นนอก ( adrenal cortex ) ทำให้สีของสัตว์เลือดเย็นเข้มขึ้น มีโครงสร้างเหมือน MSH 

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า TSH

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า TSH
Thyroid Stimulation hormone (TSH)

ทำหน้าที่ กระตุ้น ให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ thyroxine hormone การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจาก สมองส่วน hypothalamus มีฮอร์โมนที่กระตุ้นและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและมี ชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน เช่น

1. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง GH ( GH releasing hormone, GRH) กระการหลั่งฮอร์โมน growth
2. ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง GH (GH inhibiting hormone,GIH) ยับยั้งไม่ให้มีการหลั่งฮอร์โมน growth
3. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง prolactic (Prolactin releasing hormone,PRH) กระตุ้นให้ Prolactin หลั่งออกมา
4. ฮอร์โมนควบคุมการหลั่ง thyroid (Thyroid releasing hormone,TRH) กระตุ้นการหลั่ง TSH
5. ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gn (Gonadotrophin releasing hormone,GnRH) กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH และ FSH

ฮอร์โมนเหล่านี้รวมเรียกว่า ฮอร์โมนประสาท เพราะสร้างมาจากเซลล์พิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาทภายใน hyprothalamus

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โกรนาโดโทฟิน

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โกรนาโดโทฟิน

ประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ FSH และ LH

ฮอร์โมน FSH ทำหน้าที่

สำหรับในเพศหญิง กระตุ้นรังไข่ให้สร้างไข่และไข่สุกกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน           สำหรับในเพศชาย กระตุ้นอัณฑะ ให้สร้างตัวอสุจิ กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนดทสโตสเทอโรน

ฮอร์โมน LH ทำหน้าที่  

               สำหรับในเพศหญิง กระตุ้นให้ไข่ตกกระตุ้นการสร้างเเละหลั่งโปรเจสเตอโรน สร้างผนังมดลูกเเละการเจริญต่อมน้ำนม                                                 
               สำหรับในเพศชาย กระตุ้นเซลล์อินเตอร์สติเชียลให้หลั่งเทสโตสเทอโรนเเละกระตุ้นให้อสุจิเติบ โตเต็มที่

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โปรแลกติน

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โปรแลกติน

ทำหน้าที่ 

1. กระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมในหญิงที่มีลูกอ่อน
2. กระตุ้นการสังเคราะห์น้ำนม (lactogenesis) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของทารก              
3. กระตุ้นให้ต่อมน้ำนมหลั่งน้ำนมออกมา   ซึ่งจะหลั่งออกมาวันที่ 3-4 หลังคลอด
มีความสำคัญในระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญในช่วงการตั้งครรภ์ของสัตว์บางชนิดเช่น สุนัข โรเด็นท์ (rodent) และเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในสัญชาติญาณของการเป็นมารดาในสัตว์บางชนิด(maternal behavior) เช่น การทำรัง เป็นต้น
นอกจากนี้โพรแลกทินมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน( immune function) โดยจากการศึกษาพบว่าหนูที่ทดลองเอายีนโพรแลกทินออกจะมีความผิดปกติของภูมิ คุ้มกัน ทั้งนี้เนื่องจากพบตัวรับสัญญาณโพรแลกทินในเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ลิมโพไซด์(lymphocytes) บางชนิด


ความผิดปกติของฮอร์โมนโปรแลกติน 


การมีภาวะโพรแลกตินในกระแสโลหิตสูงหรือเรียกว่าไฮเปอร์โพรแลคตินอีเมีย(hyperprolactinemia) ที่พบบ่อยคือการมีฮอร์โมนเพิ่มมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากการมีเนื้องงอกที่ต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกมามากทำให้ระงับการตกไข่จึงไม่มีบุตร(infertile) ไม่ มีรอบระดูหรืออะเมนนอรีเรีย (amenorrhea ) มีน้ำนมไหลหรือกาเลคโตเรีย (galactorrhea) ถ้าพบในผู้ชายจะทำให้ความรู้สึกทางเพศตรงข้ามลดลง และหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (impotence) เป็นหมัน เต้านมขยายเหมือนผู้หญิง (gynaecomastia)

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โกรทฮอร์โมน

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โกรทฮอร์โมน

หน้าที่

1.กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูก และมีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูก
2.เพิ่มอัตราการสร้างโปรตีน
3.เพิ่มการสลายไขมัน
4.เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด


ความผิดปกติของโกรทฮอร์โมน


hypofunction (ฮอร์โมนน้อย)


เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีหน้าตาที่ดูอ่อนกว่าอายุจริง รูปร่างเตี้ยเล็กแต่สมส่วน อ้วนกลมเนื่องจาก มีไขมันสะสมบริเวณลำตัวมาก น้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเป็นเด็กชายมักมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย การขาดโกรทฮอร์โมน ไม่มีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของเด็ก (แต่มักมีปัญหาด้านจิตใจ) เรียกภาวะนี้ว่า การเตี้ยแคระหรือ dwarfism
ผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด(stess) สูงเรียกว่า Simmon’s disease


hyperfunction (ฮอร์โมนมาก)


เด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism

ผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง vasopressin

หน้าที่ของฮอร์โมนวาโซเเปปซิน


1. ทำให้สารน้ำในร่างกายปกติเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเหงื่อ อุจจาระร่วง (diarrhea) ฮอร์โมน ADH จะทำให้ร่างกายขับปัสสาวะน้อยลง หรือเมื่อไฮโพทาลามัสรู้สึกว่าร่างกายมีความเข้มข้นของเกลือ (saltiness) มากเกินไป ร่างกายจะหลั่ง ADH มากขึ้น
2. การเข้มข้นของสารเหลวในร่างกายปกติความเข้มข้นของสารในกระแสเลือดประเภทที่ เรียกว่าออสโมลาริติ (osmolarity) เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารโดยรวม รวมทั้งประจุโดยรวม จะส่งสัญญาณผ่านกระแสประสาทไปที่ไฮโพทาลามัส (ซึ่งรู้จักในชื่อ ออสโมรีเซฟเตอร์ (osmoreceptor)) กระตุ้นให้กระแสประสาทให้หลั่ง ADH ดังภาพ 

ความผิดปกติของฮอร์โมน


ผู้ป่วยเบาจืดจะรู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมากและปัสสาวะบ่อย 


โรคที่พบบ่อยได้แก่ ไดอะปิทิส อินซิปิดัส (diabetes insipidus) ซึ่งเกิดจาก 2ประการดังนี้ 
1. ไฮโพทาลามิก ไดอะบิทิส อินซิปิดัส (hypothalamic diabetes insipidus) คือมีการหลั่งADH จากต่อมไฮโพทาลามัสได้น้อย ซึ่งอาจเกิดจากได้รับอุบัติเหตุที่สมอง หรือการติดเชื้อ 
2. เนฟโฟจินิก ไดอะบิทิส อินซิปิดัส (nephrogenic diabetes insipidus) เกิดจากไตไม่สามารถตอบสนองต่อADH มักเกิดจากโรคที่เกิดที่ไต   ภาวะกลายพันธุ์ (mutation) หรือการผ่าเหล่าของยีนของ ADHทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมน ADH ที่ผิดปกติ ซึ่งอาการแสดงที่ปรากฏ คือมีการหลั่งปัสสาวะออกมาอย่างมาก เช่นการหลั่งปัสสาวะได้16 ลิตร/ วัน ทำให้ต้องการน้ำทดแทน อย่างมาก ซึ่งถ้าให้การทดแทนไม่เพียงพอจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ 

Thank you

Comments System

Disqus Shortname