Welcome

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฮอร์โมนจากต่อมเพศ รกเเละฮอร์โมนจากรก

รกเเละฮอร์โมนจากรก

รกจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน มาควบคุมการตั้งครรภ์ให้ดำเนินต่อไป เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่โดยการพัดโบกของขนเซลล์ (cilia) ของท่อนำไข่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฮอร์โมนอีสโทรเจน เมื่อมีการผสมระหว่างอสุจิและไข่ เกิดการปฏิสนธิขึ้น (fertilization) จนเคลื่อนที่มาถึงมดลูกซึ่งเป็นระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) มีจำนวนเซลล์ประมาณ100 เซลล์ แล้วจะฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ แล้วเซลล์โทรโฟบลาสท์ (trophoblast) ของบลาสโตซิสจะยึดกับเนื้อเยื่อของมดลูก เจริญไปเป็นรก (placenta) ดังนั้นรกจึงเป็นส่วนหนึ่งของทารก แต่จะอยู่นอกตัวทารกในมดลูกของมารดาหน้าที่รกเป็นบริเวณที่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและทารกมาพบกัน โดยเชื่อมต่อสายสะดือของทารกกับมดลูก ของมารดา

รกทำหน้าที่ 2 ประการคือ

- ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอาหาร อากาศและของเสียจากทารกในครรภ์ของทารกในครรภ์
- ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูก ซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็น ระหว่างตั้งครรภ์และเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกลไกลการเจ็บครรภ์รวมทั้ง ฮอร์โมนอีสโทรเจน และฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่

1. ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน

2. ฮอร์โมนอีสโทรเจน      

3. ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you

Comments System

Disqus Shortname